Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

คู่มือการใช้โปรแกรมฝึกทักษะทางดนตรี Music trainers : โดย อ.อุทัย ไชยธงรัตน์

ดาวน์โหลด  โปรแกรม Music trainers

ได้ที่นี้ Click to Download

ดาวน์โหลด คู่มือการใช้โปรแกรมดนตรี Music trainers

ได้ที่นี้ Click to Download


คู่มือการใช้โปรแกรมดนตรี

Music trainers
โปรแกรมดนตรีเพื่อการศึกษา


       






 เรียบเรียงโดย อุทัย  ไชยธงรัตน์ ค.บ. ดนตรีศึกษา (สากล)






                โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม  อ.เสลภูมิ  จ.ร้อยเอ็ด
                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต27







คำนำ

                โปรแกรมดนตรี  Music Trainers  เป็น โปรแกรมทางดนตรีที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลโดยเฉพาะ  เป็นการนำความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีสากลสู่การปฏิบัติ  ครูผู้สอนสามารถใช้เป็นแบบทดสอบ  แบบฝึกหัด  บทฝึก  ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดีบางโอกาสยังทำหน้าที่แทนครูผู้สอนได้เช่นเดียว กัน  เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อและเทคโนโลยีที่มีขั้นตอนการใช้งานไม่ ซับซ้อน  เข้าใจง่าย  สามารถแก้ปัญหาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้กับผู้ศึกษาได้เป็นอย่างดี  ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอขอบคุณเจ้าของลิขสิทธิ์ในนามบริษัท Ricci Adams’ เจ้าของเว็บไซด์  http://www.musictheory.net/  ที่สร้างโปรแกรมดนตรีสากลที่มุ่งเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาดนตรีมา ณ ที่นี้ด้วย
                  อนึ่ง  ผู้เขียนเป็นเพียงผู้ศึกษาและทดลองใช้โปรแกรม  Music Trainers  เห็น ว่าสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนสำหรับครูและเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาวิชา ดนตรีสากลเป็นอย่างมาก  เพียงแต่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงการดนตรีสากลในประเทศไทยมากนัก  ดังนั้น  ผู้เขียนจึงได้จัดทำ คู่มือการใช้นวัตกรรม  Music Trainers”  ขึ้นเพื่อให้เป็นที่รู้จักและนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย  ผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้คงให้ประโยชน์แก่ครูผู้สอน และผู้ศึกษาไม่มากก็น้อย

นายอุทัย  ไชยธงรัตน์
ผู้เขียน










                                                                                                                                                

(1)
ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน(1)
                นวัตกรรมการเรียนการสอน  หมายถึง  กระบวนการ  วิธีการ  หลักปฏิบัติ  แนวความคิด  เครื่องมือ  หรือสื่อใหม่ ๆ  ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนามาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน  แล้วมาใช้เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน  หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า  สิ่งใดก็ตาม  ที่ครูผู้สอนนำมาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เจตคติ  หรือทักษะต่าง ๆ  ของผู้เรียน  อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน  สิ่งนั้นคือนวัตกรรม  เช่น  แผนการสอนบูรณาการ  แบบฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ  บทเรียนสำเร็จรูป  และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นต้น
                การจะพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่  มีแนวในการพิจารณาได้ดังนี้
                1. เป็นสิ่งที่เคยใช้แล้วจากที่อื่น  แต่เพิ่งนำมาใหม่ที่นี่
2.  เป็นสิ่งที่เคยใช้แล้วจากที่ไหนก็ตามแต่เพิ่งนำมาปรับปรุงแก้ไข
    ใช้ใหม่ที่นี่
                3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วที่นี่  แต่เพิ่งนำขึ้นมาทดลองใช้ที่นี่
                4. เป็นสิ่งที่เพิ่งริเริ่มจัดทำขึ้นมาใหม่  และทดลองใช้ที่นี่
DSC00528
DSC00530





 (1)ครุรักษ์  ภิรมย์รักษ์, เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน, 2544







(2)
ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
                นวัตกรรมการเรียนการสอนจำแนกได้หลายประเภท  แต่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบทเรียนนี้จะกล่าวถึงเพียง 2 ประเภท  ดังนี้
1. นวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีการ  หรือกระบวนการ  เช่น  กระบวนการสร้างความตระหนัก  กระบวนการสร้างเจตคติกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด  กระบวนการปฏิบัติ  กระบวนการสืบสอบ  กระบวนการทักษะการคิดคำนวณ  การสอนแบบศูนย์การเรียน  การสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ  การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  การเรียนสัญญาการเรียน  การเรียนเป็นคู่  การเรียนเพื่อรอบรู้  การเรียนแบบร่วมมือ  เป็นต้น
                  2. นวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อและเทคโนโลยี  เช่นบทเรียนสำเร็จรูป  บทเรียนโมดูล  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ชุดการสอนจุลบท  ชุดสื่อประสม  การใช้วีดีทัศน์  สไลด์ประกอบเสียง  แผ่นโปรงใส่  บัตรการเรียนรู้  บัตรกิจกรรม  แบบฝึกทักษะ  เกม  เพลง  เป็นต้น
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
                  นวัตกรรมการเรียนการสอน  มักเกิดจากความต้องการของครูผู้สอนที่จะปรับปรุงแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ดังนั้น  กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนจึงมีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาสภาพ ปัญหา  การวางแผนสร้างและพัฒนานวัตกรรม  การสร้างและพัฒนาพัฒนานวัตกรรมตามที่ได้










(3)
วาง แผนไว้  การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้และพัฒนานวัตกรรม  ต่อจากนั้นจึงจะให้การยอมรับและนำนวัตกรรมไปใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป  กระบวนการพัฒนานวัตกรรมจึงมีวงจรดังภาพต่อไปนี้



                                                                                                 

ภาพที่ 1  วงจรกระบวนการพัฒนานวัตกรรม










(4)
การติดตั้งโปรแกรม  Music Trainers

                เนื่องจากโปรแกรม  Music Trainers  เป็นประเภท  Program Flash Player  มีความจุเพียง  4.00 KB (4,096 bytes)  ถือว่าเป็นโปรแกรมขนาดเล็ก  ง่ายต่อการติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์  ก่อนอื่นให้ดูหน้าต่างแสดงสถานะความจุของโปรแกรมดังภาพต่อไปนี้













ภาพที่ 2  แสดงความจุโปรแกรม






(5)
                  การติดตั้งโปรแกรม  Music Trainers  ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ง่ายนิดเดียวเพราะว่าไม่ต้อง  Set up โปรแกรมให้ยุ่งยาก  ซึ่งมีขั้นตอนการติดตั้งดังต่อไปนี้
1.    นำแผ่น CD โปรแกรม  Music Trainers  ต้นฉบับใส่ลงในช่อง
CD Rom   รอให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านแผ่นสักระยะหนึ่ง
                  2. เข้า  My Computer  เลือก  Drive  ที่ต้องการให้โปรแกรมอยู่    ในที่นี้ใช้  Drive  เป็นตัวอย่าง

                 












ภาพที่ 3  การเลือก  Drive (ตามข้อ 2)

                  3. สร้าง  Folder  ใน  Drive  ที่ต้องการให้โปรแกรมอยู่ (Drive  C)โดยคลิกขวาพื้นที่ว่าง  จะเกิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาแล้วเข้า New  เลือก  Folder  จากนั้นให้เปลี่ยนจาก  New Folder  เป็นชื่อโปรแกรม







(6)








ภาพที่  4  การสร้างที่อยู่ให้โปรแกรม (ตามข้อ 3)

                  4. เข้า  My Computer  เลือก  Drive  ที่เป็นที่อยู่ของโปรแกรมต้นฉบับ (อยู่ในช่อง CD Rom) ในที่นี้ใช้  Drive  I   เป็นตัวอย่าง
                  5. ดับเบิ้ลคลิก  Drive  I  จะพบหน้าต่างแสดง File  ทั้งหมดของโปรแกรม Music Trainers 

Music652Chil016









(7)
                           6. คลิกซ้ายลากทึบแถบสีน้ำเงินครอบ  File  Currently  on the CD  ทั้งหมด  แล้วเลือก  Copy



















ภาพที่  5  การบันทึกโปรแกรมลงเครื่อง ฯ (ตามข้อ 5 6)





(8)
                           7. เข้า  My Computer  เลือก  Drive  แล้วดับเบิ้ลคลิก  จะพบ  Folder  ชื่อโปรแกรม  Music Trainers  ที่ตั้งชื่อไว้ตั้งแต่ตอนต้น
                  8. คลิกขวาทับ Folder  ชื่อโปรแกรม Music Trainers  ตามข้อ 7   จะเกิดหน้าต่างขึ้นมาแล้วเลือก  Paste


                          







ภาพที่  5  ขั้นตอนการบันทึก  (ข้อ 7 8)
Cart038
E23










(9)
องค์ประกอบโปรแกรม  Music Trainers
                           เมื่อทำการติดตั้ง Music Trainers  ลงเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ต่อไปเป็นขั้นตอนการศึกษาองค์ประกอบและหน้าที่ในแต่ละส่วนของโปรแกรมฯ  ก่อนอื่นให้เรามาทำความรู้จักกับหน้าตาโปรแกรมดนตรี Music Trainers  กันเสียก่อน

                          













ภาพที่ 6  ตัวเลือก การใช้งานของโปรแกรม Music Trainers













(10)

                  จากภาพที่ 6  นี้คือหน้าตาของโปรแกรมดนตรีสากลที่มีชื่อว่า “Music Trainers”  มีความเรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน  แต่ให้ประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างมหาศาล  เป็นโปรแกรมดนตรีที่พัฒนาภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง  การใช้งานทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (Part)  ดังนี้
                  1. Trainers  ส่วนนี้จะว่าด้วยการฝึกประสาทสัมผัสทางสายตาเป็นสำคัญ  เป้าหมายก็คือเมื่อเห็นภาพนั้นๆแล้วสามารถตอบคำถาม หรือบอกความหมายของสิ่งนั้นได้อย่างฉับพลันและถูกต้อง  ถ้าพูดตามภาษานักดนตรีก็คือความเป็น อัตโนมัติ (Automatic) ประกอบด้วยบทฝึก 4 หัวเรื่อง  ดังนี้
                         1.1 Note Trainers  ว่าด้วยการบอกชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้นที่มีกุญแจประจำหลัก (Key, Clef)  ชนิดต่างๆกำกับอยู่
                         1.2 Key Trainers  ว่าด้วยการบอกชื่อคีย์ต่างๆ ตามเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง (Key Signature)
                         1.3 Interval Trainers  ว่าด้วยขั้นคู่เสียง
                         1.4 Triad Trainers  ว่าด้วยคอร์ดซึ่งประกอบไปด้วยเสียงสามเสียง  มีชื่อเรียกตามลำดับว่ารู้ต (Root) คู่สาม (Median) และคู่ห้า (Dominant)(1)
                           2. Ear Trainers  ส่วนนี้จะว่าด้วยการฝึกประสาทสัมผัสทางหูเป็นสำคัญ  เป้าหมายก็คือเมื่อได้ยินเสียงนั้นๆแล้วสามารถตอบคำถาม หรือบอกประเภทของเสียงหรือกลุ่มเสียงนั้นๆได้อย่างถูกต้องและฉับไว ประกอบด้วยบทฝึก 4 หัวเรื่อง  ดังนี้

(1) พิชัย  ปรัชญานุสรณ์,พจนานุกรมดนตรี,2539










(11)
                                      2.1 Interval Ear Trainers  ว่าด้วยการบอกชื่อประเภทของขั้นคู่เสียงตามที่ได้ยิน
                         2.2 Scale Ear Trainers  ว่าด้วยการบอกชื่อประเภทของบันไดเสียงตามที่ได้ยิน
                                      2.3 Chord Ear Trainers  ว่าด้วยการบอกชื่อประเภทของคอร์ดเสียงตามที่ได้ยิน
                           3. Instrument Trainers  ในกลุ่มนี้เป็นการฝึกบอกชื่อประจำตำแหน่งของเสียง (Position) ในเครื่องดนตรี  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด  คือ
                         3.1 Keyboard Trainers
                                      3.2 Guitar Trainers
                                      3.3 Brass Trainers
                           4. Utilities  ว่าด้วยอุปกรณ์เสริมหรือส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆบางรายการ  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 รายการคือ
                         4.1 Chord Calculator  เป็นรูปแบบการจับคอร์ดคีย์บอร์ดชนิดต่างๆในแต่ละคีย์
                         4.2 Staff Paper Generator  กระดาษบรรทัด 5 เส้น  สำหรับเขียนเครื่องดนตรีชิ้นเดียว  กระดาษเขียนโน้ตเปียโน  และกระดาษเขียนโน้ตขับร้องประสานเสียง 4 แนว












(12)
การนำโปรแกรม Music Trainers ไปใช้งาน
                  ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า Music Trainers  เป็นโปรแกรมที่เรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน สะดวกต่อการใช้งาน  ให้ประโยชน์มหาศาลแก่ผู้ศึกษาและผู้ฝึกฝน  ถ้าจะพูดตามภาษาชาวบ้านหรือพูดให้ตรงกับความหมายของคำศัพท์ Music Trainers ก็คือ พี่เลี้ยงในการฝึกทักษะทางดนตรี นั่นเองวิธีการใช้งานมีอยู่ 2 ขั้นตอน  คือ
                  1. เข้า My Computer เลือก Drive ที่สร้างโปรแกรม Music Trainers  เอาไว้  ดับเบิ้ลคลิกโปรแกรม Music Trainers จะพบหน้าต่างแรก (Desktop) ตามภาพที่ 6 
                  2. ใช้ลูกศรชี้ไปยังหัวเรื่อง (Function) ที่ต้องการ  จะเกิดรูปมือและมีแถบทึบสีเหลืองพาดหัวข้อที่ต้องการแล้วคลิกซ้าย 1 ครั้ง  จากนั้นหน้าต่างการทำงานของหัวเรื่องที่เราต้องการก็จะปรากฏขึ้น  ซึ่งเราสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามบทฝึกของหัวเรื่องนั้นๆได้เลย




ภาพที่ 7  แสดงตัวอย่างการเลือกหัวเรื่องที่ต้องการใช้งาน










(13)
การใช้งาน Note Trainers 
                           Note Trainers  เป็นหัวเรื่องที่ว่าด้วยการฝึกทักษะการบอกชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้นที่มีกุญแจประจำหลัก (Key, Clef) ชนิดต่างๆ กำกับอยู่  Note Trainers  มีหน้าต่างการใช้งานดังภาพข้างล่าง










ภาพที่ 8  หน้าต่างการใช้งาน Note Trainers 

เป้าหมาย  สามารถบอกชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น  ที่มีกุญแจประจำหลักชนิดต่างๆ กำกับอยู่ได้ถูกต้อง





(14)
วิธีปฏิบัติ  นำลูกศรไปวางทับตัวอักษรที่เป็นชื่อประจำเสียงของตัวโน้ตที่เห็นว่าถูกต้องตามภาพโดยคลิกซ้าย 1 ครั้ง                                                              
หน้าที่/การใช้งานของเครื่องมือ

              
                         4.1 New Note  -  เปลี่ยน Note ใหม่ 
                         4.2 Clef Select -  เปลี่ยนกุญแจประจำหลักใหม่  มีขั้นตอนการปฏิบัติ  ดังนี้





(15)
                         4.2.1 คลิกซ้ายที่ Clef Select  จะเกิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เลือกกุญแจประจำหลักที่ต้องการ  ถ้าต้องการกุญแจประจำหลักใดให้เหลือคำว่า  “ON”  พร้อมทึบครอบกุญแจประจำหลักนั้นไว้  ดังภาพข้างล่าง



ภาพที่ 10  แสดงการเปลี่ยนกุญแจประจำหลัก
                                      4.2.2 คลิก New Note แล้วคลิก Clef Select อีกครั้งหนึ่งก็จะได้กุญแจประจำหลักใหม่ตามที่ต้องการ 
                                      4.3 Ledger Line  -  ลด/เพิ่ม  จำนวนเส้นน้อย
                         4.4 Toggle Helpers  -  ตัวช่วยในการบอกชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น (เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล ประถม)  ดังภาพ





(16)










ภาพที่ 11  แสดงการใช้ Toggle Helpers 
                         4.5 Reset Score  -  ยกเลิกคะแนนปัจจุบัน/เริ่มต้นคะแนนใหม่

กิจกรรมเสนอแนะ
                  1. เพื่อให้เกิดการแข่งขัน  ให้ลองจับเวลาว่าภายในเวลาที่กำหนดใครได้คะแนน  ถูก  ผิด  คิดเป็นเปอร์เซ็นต์  เท่าใด
                  2. ภายในจำนวนครั้งที่กำหนด  ใครได้คะแนน  ถูก  ผิด  คิดเป็นเปอร์เซ็นต์  เท่าใด







(17)
การใช้งาน Key Trainers
                  Key Trainers  เป็นหัวเรื่องที่ว่าด้วย  การฝึกทักษะการบอกชื่อบันไดเสียง (Scale)  โดยโปรแกรม Music Trainers จะขึ้นภาพเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง (Key Signature) ชนิดต่างๆให้เลือกตอบ หน้าต่างการทำงานของKey Trainers  ดังภาพข้างล่าง











ภาพที่ 12  หน้าต่างการใช้งาน  Key Trainers 

เป้าหมาย  :  สามารถบอกชื่อประจำบันไดเสียงต่างๆ ตามเครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง (Key Signature) ที่ปรากฏได้







(18)
วิธีปฏิบัติ  :  นำลูกศรไปวางทับตัวอักษรที่เป็นชื่อประจำบันไดเสียงที่เห็นว่าถูกต้องตามภาพโดยคลิกซ้าย 1 ครั้ง          
หน้าที่/การใช้งานของเครื่องมือ







(19)
                        





(20)
การใช้งาน Interval Trainers
                  Interval Trainers  เป็นหัวเรื่องที่ว่าด้วยการฝึกทักษะการบอกชื่อ
ขั้นคู่เสียง (Interval)  โดยโปรแกรม Music Trainers จะขึ้นภาพขั้นคู่เสียง (Interval) ชนิดต่างๆให้เลือกตอบ  หน้าต่างการทำงานของ Interval Trainers  ดังภาพข้างล่าง





ภาพที่ 15  หน้าต่างการใช้งาน  Interval Trainers 







 (21)
เป้าหมาย  :  สามารถบอกชื่อขั้นคู่เสียง (Interval) ต่างๆ ตามภาพที่ปรากฏได้
วิธีปฏิบัติ  :  นำลูกศรไปวางทับตัวอักษรที่เป็นชื่อประจำขั้นคู่เสียง (Interval) ที่เห็นว่าถูกต้องตามภาพโดยคลิกซ้าย 1 ครั้ง          
หน้าที่/การใช้งานของเครื่องมือ


                        
                                                                      ภาพที่ 16  ผังเครื่องมือ Interval Trainers 






 (22)
                         3.1 New Interval  -  เปลี่ยนขั้นคู่เสียง (Interval) ใหม่
                         3.2 Aug. and Dim.  - ปุ่มเปิด ปิดขั้นคู่เสียง (Interval)ประเภท Augmented  และ Diminish
                                      3.3 Dbl. Accidentals  -  ปุ่มเปิด ปิด  เครื่องหมายแปลงเสียง (Accidentals Note) ประเภท Double Sharp และ Double Flat
                                      3.4 Reset Score  -  ยกเลิกคะแนนปัจจุบัน/เริ่มต้นคะแนนใหม่

                 
ผู้เขียนรับมอบใบประกาศเป็นกรรมการผู้ตัดสิน
การประกวดวงดนตรีและการขับร้อง
จาก  คุณวินัย  พันธุรักษ์
นายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์





 (23)
การใช้งาน Triad Trainers
                  Triad Trainers  เป็นหัวเรื่องที่ว่าด้วยการฝึกทักษะการบอกชื่อ
คอร์ดที่ประกอบไปด้วยเสียงสามเสียง (Triad Chord)  ซึ่งตรัยแอดทุกชนิดสามารถพลิกกลับ (Inversion) ได้  โดยโปรแกรม Music Trainers จะขึ้นภาพ Triad ชนิดต่างๆให้เลือกตอบ  หน้าต่างการทำงานของ Triad Trainers
ดังภาพข้างล่าง












ภาพที่ 17  หน้าต่างการใช้งาน  Triad Trainers 






 (24)
เป้าหมาย  :  สามารถบอกชื่อตรัยแอดชนิดต่างๆ ตามภาพที่ปรากฏได้
วิธีปฏิบัติ  :  นำลูกศรไปวางทับตัวอักษรที่เป็นชื่อตรัยแอด (Triad) ที่เห็นว่าถูกต้องตามภาพโดยคลิกซ้าย 1 ครั้ง          
หน้าที่/การใช้งานของเครื่องมือ

              

 (25)
                                      3.1 New Triad  -  เปลี่ยนตรัยแอดใหม่
                         3.2 Root Accidentals  -  ปุ่มเปิด ปิด  รู้ทที่มีเครื่องหมายแปลงเสียง และไม่มีเครื่องหมายแปลงเสียง
                         3.3 Inversions  -  ปุ่มเปิด ปิด  คอร์ดพลิกกลับ (Inversion Chord)
                         3.4 Toggle Helpers  -  ตัวช่วยในการบอกชื่อชนิดของตรัยแอด ดังภาพ

 ภาพที่ 19  แสดงการใช้งาน Toggle Helpers 
                                    
3.5 Reset Score  -  ยกเลิกคะแนนปัจจุบัน/เริ่มต้นคะแนนใหม่

    5.            


                          
  
กลับเข้าสู่หน้าต่างแรกของโปรแกรม Music Trainers  (เมนูหลัก  ภาพที่ 6)










 (26)
สรุปการใช้โปรแกรมดนตรี Music Trainers
                           ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขออภัยท่านที่กำลังศึกษาคู่มือการใช้นวัตกรรม Music Trainers  ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย  ที่ต้องด่วนสรุปเนื้อหาการใช้งานของโปรแกรมดนตรี Music Trainers  ลงเพียงส่วนเดียวคือ Trainers  ยังเหลือการใช้งานทั้งหมดตั้งสามส่วนใหญ่ๆ ที่ยังไม่ได้อธิบาย  เหตุผลก็คือ
                  1. Music Trainers  เป็นโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  เข้าใจง่ายสะดวกต่อการใช้งาน  สามารถเรียนรู้และจดจำได้เร็ว  สามส่วนที่เหลือประกอบด้วย Ear Trainers, Instrument Trainers  และ Utilities  ก็มีลักษณะและหลักการใช้งานเหมือนกับตัวอย่างจาก Trainers  ทุกประการ  เช่น  อันดับแรกให้เข้าหน้าต่างการทำงานในแต่ละหัวเรื่อง (Function)  ศึกษาคุณสมบัติการใช้งานของผังเครื่องมือ  ทดลองใช้  ถ้าเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยให้เทียบเคียงจากประสบการณ์เดิมจาก Trainers  ที่ผู้เขียนได้สาธิตการใช้ไว้แล้วในเบื้องต้น
                  2. ผู้เขียนอยากให้ผู้ศึกษามีจินตนาการ  เกิดในการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ศึกษาวิชาดนตรีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว  ถ้าเป็นผู้เริ่มศึกษาวิชาดนตรีใหม่ๆ สามารถประเมินตนเองได้ว่า  จะเป็นแค่ผู้ชอบศึกษาวิชาดนตรีพอประดับความรู้  หรือเป็นผู้ศึกษาวิชาดนตรีอย่างจริงจังเพื่อที่จะเป็นนักดนตรี  ครูดนตรี  หรือนักดนตรีอาชีพในอนาคต...................













 (27)
จากใจผู้เขียน
                           ….เมื่อสมัยยังเด็กๆ เท่าที่จำความได้  ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักดนตรี  อยากเป็นจิตรกร  อยากเป็นนักเขียนนวนิยาย  อยากเป็นทหาร ฯลฯ สารพัดที่อยากจะเป็น  ผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านรวมไปถึงญาติๆ มักบอกว่าผู้เขียนเป็นคนเอาแต่ใจตัวเอง  ดื้อรั้น  ไม่เชื่อฟังใคร  เป็นคนไม่มีเหตุผล  ผู้เขียนอยากตะโกนดังๆว่า ฉันไม่ได้เป็นคนเช่นนั้นหรอก....เพียงแต่คุณไม่เข้าใจ....ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผมเท่านั้นเอง”  ดังนั้น  ผู้เขียนชอบที่จะพูดคุยหรือไปมาหาสู่กับผู้ใหญ่ใจดี  พูดจามีเหตุมีผล  เข้าใจธรรมชาติ และความต้องการของเด็ก  อาจเป็นเพราะว่าผู้เขียนเป็นคนที่ชอบคิดนอกกรอบ  มีมุมมองต่อสิ่งทั้งหลายแตกต่างไปจากคนทั่วไป  มักตั้งคำถามกับสิ่งที่ได้สัมผัสหรือรับรู้  ต้องการคำตอบที่ตรงและมีเหตุผล
                  ตามสายตาของคนทั่วไป...ผู้เขียนมักจะถูกมองว่าเป็นคนที่เข้าใจอะไรยาก  มีอัตตาสูง (Individual)  ในทางตรงกันข้ามผู้เขียนก็มองว่าคนอื่นทำไมเป็นคนที่ไม่มีเหตุผล  ใจแคบ  เจ้าอารมณ์เช่นกัน  ก็ขอสรุปว่าเรื่องนี้ไม่มีใครผิดใครถูกหรอก  เพราะมันเป็นปกติวิสัยของสังคมมนุษย์อยู่แล้ว  เพียงแต่ทุกคนพยายามเรียนรู้ให้เข้าถึงจิตใจของคนอื่น  รู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอ  จากลักษณะนิสัยตามที่กล่าวมาข้างต้น  การที่ผู้เขียนเลือกที่จะฝึกฝนทักษะทางด้านดนตรี  เป็นนักดนตรี  สุดท้ายเป็น ครูดนตรี  มาจากความต้องการอยากมีอิสรภาพทางความคิด  อยากมีเสรีภาพทางจินตนาการ  หรือไม่ก็ยังไม่มั่นใจ  เพราะดนตรีสามารถสื่อ














 (28)
ความหมายได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม  มีอิสระแต่สามารถควบคุมได้  สร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดแต่ต้องมีขอบเขต 
                  การที่ผู้เขียนได้ยกเอาลักษณะนิสัยส่วนตัวมาเป็นประเด็นตัวอย่างไม่ใช่อื่นไกล  เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นความงดงาม  มีอำนาจ  มีพลังในตัวเด็กแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง และส่งเสริมให้เขาได้พัฒนาตามศักยภาพ  ความสามารถและความถนัดเท่าที่ควร  แต่กลับถูกกลบเกลื่อนบดบังด้วยแนวคิดของผู้ใหญ่และสังคมรอบข้าง  บางครั้งก็น่าเห็นใจที่ผู้ใหญ่รวมถึงครู อาจารย์  ที่ตั้งใจสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่ และทุกด้านที่เด็กต้องการ  เด็กเองกลับไม่รับความปรารถนาดี 
                  ในการจัดทำคู่มือการใช้นวัตกรรม Music Trainers เล่มนี้มาจากแนวคิดจากการได้สัมผัสกับผู้ใหญ่ใจดี และครูดนตรีหลายท่าน  มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่พัฒนาเด็กให้มีความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพแต่ ไม่รู้จะทำอย่างไร  ผู้เขียนขอแนะนำคือท่านต้อง ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน  หมายความว่า  ครูต้องหมั่นแสวงหานวัตกกรม  เทคนิควิธีการ  ใช้สื่ออย่างหลากหลาย  บทเรียนต้องมีความท้าทายและเร่งเร้า  (1)ครูดนตรีที่เก่งไม่ได้หมายความว่าเป็นครูดนตรีที่มีความรู้ความสามารถมหาศาล หรือมีฝีมือสุดยอด  แต่ครูดนตรีที่เก่งนั้น  คือครูที่มีความสามารถเฉพาะตัวที่จะถ่ายทอดความรู้
ความสามารถไปยังนักเรียนได้เข้าใจ และนักเรียนทำได้  ดังนั้นครูดนตรียุคใหม่

 (1)รศ.ดร.สุกรี  เจริญสุข,ครูดนตรี,2549












(29)
จึงต้องเป็นครูที่มีความรู้ มีความสามารถสูง  มีศักยภาพและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี
                           ต่อไปนี้โลกเราจะสู้กันด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creative)ไม่ได้สู้กันทางด้านวิชาการเหมือนสมัยก่อน  เพราะวิชาการมันเท่ากันได้ใครมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ  ดนตรีเป็นวิชาพื้นฐานของชีวิตเพื่อพัฒนาหัวใจ  สมอง  ร่างกาย  สังคม และจิตวิญญาณของเด็ก  เพราะดนตรีเป็นพื้นฐานที่จะเติมเต็มให้เด็กเป็นคนที่เต็มคน  ดนตรีเป็นพลังของเสียง และเสียงมีพลัง  พลังเสียงมีอำนาจ  อำนาจของเสียงทำให้เกิดการเคลื่อนไหว  การเคลื่อนไหวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดพัฒนา  และการพัฒนาทำให้เกิดความเจริญ
                  ท้ายสุดหากคู่มือการใช้นวัตกรรม Music Trainers  เล่มนี้พอมีประโยชน์ต่อผู้ศึกษา  ครู อาจารย์  ที่สอนดนตรีอยู่บ้าง  ผู้เขียนมอบคุณงามความดีอันนี้ให้แก่  อาจารย์นิคม  พรมโสภา (โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย) ซึ่งเป็นครูดนตรีคนแรกของผู้เขียน  ปัจจุบันเกษียณราชการแล้ว และขออุทิศเป็นส่วนกุศลให้กับ  คุณครูเชาวฤทธิ์  พลาบัญช์ (โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย)  ครูดนตรีไทยคนแรกของผู้เขียน                      
                 

นายอุทัย  ไชยธงรัตน์
ผู้เขียน













(ก)
บรรณานุกรม
                          
                           1. ครุรักษ์  ภิรมย์รักษ์.  การวิจัยในชั้นเรียน.  ชลบุรีโรงพิมพ์
                                งามช่าง, 2544
                  2. พิชัย  ปรัชญานุสรณ์.  พจนานุกรมดนตรี.  กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539.
                  3. เฉลย  ภูมิพันธ์.  การประสานเสียง.  วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ : 2530
                  4. สุกรี  เจริญสุข.  ครูดนตรี.  เอกสารอบรมครูดนตรีมือเปล่า,
2549.
                  5. Ricci Adam’s.  Music Trainers and Utilities 2.1.2
http://www.musictheory.net/










ประวัติผู้เขียน



ชื่อ  นายอุทัย  ไชยธงรัตน์ 
วัน / เดือน / ปี  เกิดเมื่อ  1  ธันวาคม  2505 
สัญชาติ  ไทย  เชื้อชาติ  ไทย  ศาสนา  พุทธ
ภูมิลำเนา  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติการศึกษา
    -    จบชั้น ป.4  โรงเรียนบ้านนาแพง อ.เสลภูมิ  จ.ร้อยเอ็ด พ.ศ. 2516
    -    จบชั้น ป. 7  โรงเรียนบ้านนาโพธิ์ อ.เสลภูมิ  จ.ร้อยเอ็ด พ.ศ. 2519
    -    จบนักธรรมศึกษาชั้นตรี  จากสำนักศรีธรรมประสาท  พ.ศ. 2520
    -    จบชั้นม.ศ. 3 โรงเรียน หนองพอกวิทยา  อ.หนองพอก  พ.ศ. 2523
    -    จบชั้นม.ศ. 5  โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย  พ.ศ. 2525  สาขาดนตรีศึกษา
    -    จบ  ป.กศ สูง  ดนตรีศึกษา  วิทยาลัยครูบุรีรัมย์  พ.ศ. 2527
    -    จบวิชากีตาร์คลาสสิคชั้นกลาง  โรงเรียนดนตรีสยามกลการปทุมวัน
          กรุงเทพมหานคร  พ.ศ. 2528
    -    รับราชการทหาร 2 ปี (ยศสิบตรีกองประจำการ) พ.ศ. 2529-2530
    -    จบ  ค.บ. ดนตรีศึกษา(สากล)  วิทยาลัยครูบุรีรัมย์  พ.ศ. 2532






 (ข)

ประวัติการรับราชการ/อื่นๆ
    -    พ.ศ. 2529  สอบบรรจุได้อับดับ 1 สาขาดนตรีสากล  วุฒิ ป.กศ สูง 
      เขตการศึกษา 10  เลือกโรงเรียนประทุมพิทยาคม  จ.อุบลราชธานี   
      (ไม่ได้รับการบรรจุเนื่องจากติดราชการทหาร)
    -    พ.ศ. 2532  รับราชการครูโรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา  อ.กุดข้าวป้น
          จ. อุบลราชธานี
    -    พ.ศ. 2535  สอบบรรจุได้อับดับ 4 สาขาดนตรีสากล วุฒิ ค.บ.  เขต   
          การศึกษา  9,10,11  บรรจุที่โรงเรียนคำชะอีวิทยาคาร  อ.คำชะอี
จ.มุกดาหาร
    -    พ.ศ. 2538  ย้ายจากโรงเรียนคำชะอีวิทยาคาร  มารับราชการที่โรงเรียน
          เสลภูมิพิทยาคม  จนถึงปัจจุบัน
การศึกษาดูงาน/อบรม
-                   อบรมหลักสูตรครูดนตรีมือเปล่า  รุ่น 1  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์    
มหาวิทยาลัยมหิดล  2549
-                   กรรมการผู้ตัดสินการประกวดวงดนตรีและขับร้อง  สมาคมดนตรี
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  2549
ผลงานที่ภูมิใจ
-                   ชนะเลิศระดับประเทศดนตรีประเภท Folk  song  ปี พ.ศ. 2539
-                   ชนะเลิศระดับประเทศดนตรีประเภท String  ปี พ.ศ. 2546
คติประจำใจ   :   ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน  ค่าของงานอยู่ที่ความพอใจ

1 ความคิดเห็น: